เมนู

บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ก่อมานะ ถือทิฏฐิ
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะ แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่กิเลส และสัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
7. ธรรมที่เป็นกิเลส และธรรมที่ไม่ใช่กิเลส เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นกิเลส ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
มี 3 วาระ.
(วาระที่ 7-8-9)

10. ปุเรชาตปัจจัย


[499] 1. ธรรมที่ไม่ใช่กิเลส เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
กิเลส ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ โดยความเป็นของไม่
เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่กิเลส ด้วยอำนาจของ
ปุเรชาตปัจจัย.

2. ธรรมที่ไม่ใช่กิเลส เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นกิเลส
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลย่อมพิจารณาซึ่งจักษุ ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่ง
หทยวัตถุ ฯลฯ เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส ย่อม
เกิดขึ้น.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กิเลสทั้งหลาย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
3. ธรรมที่ไม่ใช่กิเลส เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นกิเลส
และธรรมที่ไม่ใช่กิเลส ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ เพราะ
ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น กิเลสและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่กิเลส และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[500] 1. ธรรมที่เป็นกิเลส เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กิเลส
ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ

2. ธรรมที่ไม่ใช่กิเลส เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
กิเลส ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ

3. ธรรมที่เป็นกิเลส และธรรมที่ไม่ใช่กิเลส เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่กิเลส ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ


12. อาเสวนปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอํานาจของอาเสวนปัจจัย

มี 9 วาระ.

13. กัมมปัจจัย


[501] 1. ธรรมที่ไม่ใช่กิเลส เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
กิเลส ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่ไม่ใช่กิเลส เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่ไม่ใช่กิเลส เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.